Center of Medical Excellence

 

 

 

เป็นองค์กรนำด้านสุขภาพ

ที่สำคัญของชาติ

และมุ่งมั่นสู่การเป็นศูนย์การแพทย์

ชั้นนำระดับนานาชาติ

 

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี

 

 

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี

ด้านโสต ศอ นาสิก

"Ear and Hear Care"

มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 30 ปี ในการเป็นผู้นำในการรักษาโรคหู คอ จมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาผู้พิการทางการได้ยินทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ (Cochlear Implant) ทีมผ่าตัดศีรษะและคอ ซึ่งเป็นทีมที่มีชื่อเสียงในการรักษาและผ่าตัดแก้ไขข้อบกพร่องที่ซับซ้อนโดยใช้เทคนิค Free Tissue Transfer รับรักษาผู้ป่วยจากทั้งโรงพยาบาลอื่นและจากระบบส่งต่อจากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ และเป็น International Counter ที่แพทย์และผู้ป่วยจากหลายประเทศส่งประวัติผู้ป่วย เพื่อปรึกษา วินิจฉัย และวางแผนการรักษา รวมทั้งจัดการอบรมหลักสูตรนานาชาติ ได้แก่ Asian Temporal Bone Dissection/Ear Surgery Course และ International Head and Neck Course

ด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

“ลดพุง ลดภัย ห่างไกล NCDs”

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุข และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย จากโครงการเสริมพลังในทีมผู้บริบาลผู้เป็นเบาหวานในช่วง พ.ศ. 2562-2565 ที่สร้างความตระหนักเห็นถึงความสำคัญของโรค มีทีมอาสาสมัครสาธารณสุขที่สามารถดูแลสุขภาพตนเองและให้ความรู้แก่ผู้ป่วย รวมถึงให้ผู้เป็นเบาหวานและครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้เป็นเบาหวานและป้องกันโรคเรื้อรัง หลังจากการสิ้นสุดโครงการการได้มีการดูแลโดยหลาย ๆ ภาคส่วน ทั้งการป้องกัน การดูแลโรค และการจัดการภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลราชวิถีได้มีส่วนในการวางแนวทางในการจัดการโรคดังกล่าว เช่น แนวทางการดูแลเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพระสงฆ์ และสร้างบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขทั้ง 13 เขตสุขภาพ ได้มีส่วนร่วมของเขตบริการสาธารณสุขในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เกิดความเชี่ยวชาญ ยกระดับคุณภาพการดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานบริการทุกระดับให้มีมาตรฐาน

ด้านปลูกถ่ายอวัยวะ

“หนึ่งคนให้ หลายคนรอด”

ให้บริการปลูกถ่ายอวัยวะ ทั้งด้านการปลูกถ่ายหัวใจ หัวใจและปอด ไต ตับ โดยมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ได้พัฒนาวิธีการผ่าตัดเอาไตออกจากผู้บริจาคไตที่มีชีวิตแบบแผลเล็ก (Mini-incision donor nephrectomy) ทำให้ผู้บริจาคไตชนิดผู้บริจาคยังมีชีวิตอยู่ (Living donor) สามารถฟื้นตัวภายหลังการผ่าตัดได้เร็วขึ้น และระยะเวลานอนโรงพยาบาลลดลง อีกทั้งบุคลากรของศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านปลูกถ่ายอวัยวะยังมีส่วนร่วมในการวางแผนเกี่ยวกับการผลูกถ่ายอวัยวะในระดับประเทศอีกด้วย

ด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

“รวดเร็ว ปลอดภัย

คือหัวใจบริการ”

ได้เริ่มมีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้บาดเจ็บตั้งแต่ ณ จุดเกิดเหตุจนได้รับการรักษาในโรงพยาบาลจนกระทั่งจำหน่าย เช่น การใช้ Code M เพื่อแจ้งให้เตรียมรับผู้บาดเจ็บหลายระบบ โดยทีมแพทย์มารอที่ห้องฉุกเฉินก่อนผู้ป่วยจะมาถึงโรงพยาบาล การจัดทำโปรแกรมทะเบียนผู้บาดเจ็บ (Rajavithi Trauma register) เพื่อประมวลผลการรักษาทุกรายที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลราชวิถี ข้อมูล Trauma register นำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาร่วมกันกับโรงพยาบาลเลิดสินและโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี นำไปสู่การทบทวนกระบวนการดูแลรักษา Trauma Audit committee เพื่อนำไปแก้ไขข้อบกพร่องให้เกิดเป็นรูปธรรม จนเกิดการพัฒนาไปสู่การจัดประชุมวิชาการร่วมกัน 3 สาขาการแพทย์ ได้แก่ สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน สาขาศัลยศาสตร์ และสาขาออร์โธปิดิกส์ เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้และชี้ให้เห็นถึงจุดบกพร่องของกระบวนการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บ จัดตั้งศูนย์อบรม ATLS ซึ่งได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยภายใต้ลิขสิทธิ์ของ American College of Surgeon สำหรับหลักสูตรการจัดอบรมแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้บาดเจ็บขั้นสูง

ด้านผ่าตัดทางกล้อง สาขาศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ

“ผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์

ดูแลคนด้วยหัวใจ”

เป็นหน่วยงานหลักในสังกัดกรมการแพทย์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านผ่าตัดทางกล้องในระดับประเทศ และชั้นนำของภูมิภาคอาเซียนในการรักษาโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยการสาธิตการผ่าตัดในครั้งนี้ ได้นำนโยบายแนวคิดความเชี่ยวชาญขั้นสูงสู่ภูมิภาค โดยมีความสอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่ เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาสำหรับประชาชนในภูมิภาค โดยเน้นการดำเนินงานที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง กระจายความรู้ความเชี่ยวชาญไปสู่ภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลได้รับบริการทางการแพทย์เฉพาะทางได้อย่างเท่าเทียม สามารถเข้าถึงการบริการ อย่างครอบคลุม และปลอดภัย ดังปณิธานของกรมการแพทย์ “ทำดีที่สุดเพื่อทุกชีวิต”

 
ด้านผ่าตัดทางกล้อง สาขาออร์โธปิดิกส์
  
 “ผ่าสาย บ่ายเดิน”

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทผ่านกล้อง มีการพัฒนามาตลอดระยะเวลากว่า 90 ปี ซึ่งการพัฒนาเครื่องมือและวิธีการผ่าตัดให้มีขนาดที่เล็กลง มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเส้นเอ็นและกระดูกสันหลัง โดยมีความเชื่อว่าเมื่อเราลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบๆ กระดูกสันหลัง รวมถึงตัวกระดูกสันหลังอันเกิดจากการผ่าตัด ก็น่าจะทำให้ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ลดอาการเจ็บแผล ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นไม่นาน

ด้านผ่าตัดทางกล้อง สาขานรีเวช

“สตรียุคใหม่ ผ่าตัดไร้แผล”

จัดตั้งในปี 2549 เพื่อวัตถุประสงค์ ในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยนรีเวช การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช การถ่ายทอดความรู้ การขยายเครือข่ายในการให้บริการการผ่าตัดผ่าตัดกล้องทางนรีเวช การวิจัย และสร้างนวัตกรรมทางการผ่าตัดผ่านกล้องนรีเวชให้ไปสู่ความเป็นเลิศทางการผ่าตัดผ่านกล้องนรีเวช มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดทำโครงการที่มีการพัฒนาด้านการฝึกอบรม การให้บริการ การขยายเครือข่าย งานวิจัย การสร้างนวัตกรรมใหม่ และสร้างงานเพื่อนโยบายกรมการแพทย์

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร
Started the Rajavithi Digestive Endoscopy Center (RDEC)
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้