กลุ่มงานพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี

ความเป็นมาของกลุ่มงานพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ทางการแพทย์
ด้วย โรงพยาบาลราชวิถีมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง “Center of Excellence” จึงได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกรมการแพทย์ และตอบสนองนโยบายรัฐบาลด้านการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนได้อย่างครบวงจร และมีคุณภาพมาตรฐาน และเพื่อให้การดำเนินการพัฒนามีทิศทางที่ชัดเจนในการดำเนินการให้สัมฤทธิผล และบุคลากรมีส่วนในการระดมความคิดที่จะพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาล จึงแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางของโรงพยาบาลราชวิถี มีประกาศในวันที่  10 กุมภาพันธ์ 2549 โดยนายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี ในขณะนั้น แต่ยังไม่มีการจัดตั้งกลุ่มงานที่ดูแลโดยเฉพาะ แต่มีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางการแพทย์ จำนวน 5 สาขา อันได้แก่

1.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์สาขา โสต ศอ นาสิก เป็นศูนย์ความเป็นเลิศหลักของโรงพยาบาลที่ต้องตอบตัวชี้วัดของกรมการแพทย์
2.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านอุบัติเหตุ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
3.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์สาขาผ่าตัดผ่านกล้องซึ่งแบ่งเป็นสาขาย่อย  4 สาขา อันได้แก่
a.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านผ่าตัดทางกล้องศัลยกรรม
b.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านผ่าตัดทางกล้องศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
c.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านผ่าตัดทางกล้องศัลยกรรมกระดูก
d.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านผ่าตัดทางกล้องนรีเวช
4.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านปลูกถ่ายอวัยวะ
5.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์สาขามะเร็งศีรษะและคอ แต่ปัจจุบันยกเลิกไปเพราะขาดบุคคลากรหลักในการดำเนินการ

ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 โรงพยาบาลราชวิถี ได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศว่าสามารถพัฒนาและสร้างนโยบายต่อกรมการแพทย์ มีคำสั่งแต่งตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์อีก 2 สาขาอันได้แก่
6.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคจอประสาทตา ที่มีศักยภาพในการพัฒนาจนได้รับรางวัลระดับโลกอีกหลายรางวัล เช่น การตรวจคัดกรองเบาหวานเข้าตาด้วย AI ซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดในประวัติศูนย์ความเป็นเลิศด้านจอประสาทตา
7.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านหัวใจและหลอดเลือด มีกิจกรรมการช่วยจัดตั้งศูนย์ผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดในส่วนภูมิภาค การจัดสอนการกู้ชีพในบุคลากร และบุคคลทั่วไป
ในปี 2558 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มงานพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ทางการแพทย์ ตามคำสั่งกรมการแพทย์ เลขที่ 356/2558 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2558 มีการแต่งตั้งนายแพทย์ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข เป็นหัวหน้ากลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการแพทย์ ภายใต้กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบสุขภาพ  และเพิ่มสาขาสูตินรีเวช เพื่อดูแลการคลอดมาตรฐานให้กับโรงพยาบาลในเครือข่ายกรมการแพทย์ ดังนี้
8.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านสูตินรีเวชศาสตร์ ที่ดูแลหลักเรื่องการคลอดมาตรฐาน
9.        ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมด ครอบคลุมการให้บริการ การฝึกอบรม การสร้างนวัตกรรมใหม่
กล่างโดยสรุป ในปี 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรงพยาบาลราชวิถี มีจำนวน 8 ศูนย์ความเป็นเลิศ โดยมีศูนย์ความเป็นเลิศ โสต ศอ นาสิกเป็นศูนย์ความเป็นเลิศหลักของโรงพยาบาลและกรมการแพทย์

กลุ่มงานพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ทางการแพทย์ มีหน้าที่ ดังนี้

                1. กำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับกรมการแพทย์ มีเข็มมุ่งว่า “สร้างให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศที่เป็นทียอมรับระดับชาติและระดับนานาชาติ”
                2.  การเป็นผู้กระตุ้นให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (creator) มีหน้าที่ในการแนะนำการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ , การสร้างโครงการเพื่อพัฒนาการตาม Burden of diseases การคิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศ
                3. การเป็นผู้กระตุ้น ประสานและสนับสนุนให้มีการทำงาน  (facilitator) มีหน้าที่ในการดูแลการจัดทำ สนับสนุน และกระตุ้นให้มีทำโครงการให้ได้งานอันเป็นแนวทางที่สามารถพัฒนาเป็นนโยบายของกรมการแพทย์ได้ และตอบตัวชี้วัด ของศูนย์ความเป็นเลิศทุกสาขา
                4. การเป็นหน่วยงานสนับสนุน (Supporter) มีหน้าที่ในการเขียนโครงการ ดูแลการของบประมาณ การบริหารงาน การสรุปผลและประชาสัมพันธ์ ติดต่อประสานงานทั้งในและนอกประเทศ และพัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้เหมาะสมในการทำงานให้กับศูนย์ความเป็นเลิศ
                5. ประสานการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับ กลุ่มงานวิจัย กลุ่มงานนวัตกรรม และอื่นๆ ในการทำงานสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์ความเป็นเลิศ

รายนามหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศ

1.        ศาสตราจารย์นายแพทย์ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข (2558-2562)
2.        รองศาสตราจารย์นายแพทย์พรภวิษญ์ ศรีภิรมย์ (2563-2564)
3.        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) แพทย์หญิงอรัญญา ยันตพันธ์ (2565-ปัจจุบัน)

อัตรากำลัง (ปี ​2565)

1.        นักวิชาการสาธารณสุขจำนวน 6 คน
2.        นักจัดการทั่วไป 4 คน
3.        ธุรการ 1 คน
4.        แพทย์  1 คน
5.        พยาบาล  1 คน

ผลงานเด่น เป็นโครงการในแต่ละศูนย์ความเป็นเลิศทาการแพทย์ทุกสาขา อันมีรายละเอียดในศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 8 สาขา

กิจกรรมจัดทำ ปี 2565

1.        จัดทำระบบ  ODS&MIS by Cloud doctors เป็น One stop service เป็นระบบกลางที่จัดทำร่วมกับคณะกรรมการวันเดียวกลับและผ่าตัดแผลเล็ก สำหรับดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ODS&MIS ของทั้งโรงพยาบาล
2.        จัดทำระบบ Smart Referral system and teleconsultation เพื่อลดปัญหาความยุ่งยากและขั้นตอนการรับส่งต่อ
3.        จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี  ปี ​2566-2570 ตามยุทธศาสตร์ของกรมการแพทย์  
4.        ติดตามการประเมินตนเองและ ตัวชี้วัดของแต่ละศูนย์ความเป็นเลิศ และ service plan

ปัญหาและโอกาสพัฒนา

1.         ศูนย์ความเป็นเลิศที่ตัวชี้วัดไม่สมบูรณ์ และต้องการการพัฒนา จะมีคำแนะนำ แนะแนวทางในการพัฒนา
2.        การนำโครงการที่ทำสำเร็จ ปรับให้เป็นงานประจำ เพื่อให้การบริการผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพที่ต่อเนื่อง ลดภาระงานของศูนย์ความเป็นเลิศ เพื่อให้มีโอกาสพัฒนางานด้านอื่นๆ ต่อไป
3.        เพิ่มโอกาสในการพัฒนาตัวเองของ บุคลากร ของศูนย์ความเป็นเลิศให้ตรงกับรูปแบบงานที่รับผิดชอบ
4.        จัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศ มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ และพัฒนางานร่วมกัน มีแนวทางชัดเจนตามแผนยุทธศาสตร์
5.        ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของแต่ละแต่ละศูนย์ความเป็นเลิศ ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกรรมการของศูนย์ความเป็นเลิศทุกสาขา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้